การใช้คุกกี้

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้จำเป็นเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และอาจใช้คุกกี้ชนิดจดจำข้อมูลซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการใช้งานได้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดย เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน จะไม่ใช้คุกกี้ชนิดนี้หากคุณเลือกปิดการใช้งาน การใช้เครื่องมือนี้ จะติดตั้งคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อที่จะจดจำข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้ที่ เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


คุกกี้ที่จำเป็น

คุกกี้เหล่านี้ที่จำเป็นในการเปิดใช้คุณลักษณะการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย การเข้าสู่ระบบ คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์


คุกกี้วิเคราะห์

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้ Google Analytics เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยรวบรวมและรายงานข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ คุกกี้ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคลโดยตรง

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


นโยบายความเป็นส่วนตัว
close

หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ทำความรู้จักกันก่อนลงทุน

หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ทำความรู้จักกันก่อนลงทุน

หุ้นกู้ เป็นทางเลือกการลงทุนที่หลายคนสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก แต่ก่อนลงทุนต้องคำนึงไว้เสมอว่า หุ้นกู้ไม่ใช่เงินฝาก โดย หุ้นกู้ มีหลายประเภท ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยงก็แตกต่างกันไป 


“หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” หรือ “Perpetual bond” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เป็นหุ้นกู้ประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปอีก แต่ภายใต้ “ผลตอบแทนสูง” ก็มาพร้อมกับ “ความเสี่ยงสูง”

 

5 ข้อต้องรู้..หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ 


1. ด้อยสิทธิ (subordinated): หากบริษัทล้มละลายหรือต้องเลิกกิจการ ผู้ลงทุนจะได้รับชำระหนี้ เป็นอันดับท้าย ๆ คือหลังเจ้าหนี้สามัญอื่น ๆ อาทิ เจ้าหนี้การค้า หุ้นกู้ทั่วไป แต่ได้รับเงินก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ โดยผู้ลงทุนอาจได้เงินคืนทั้งหมด บางส่วน หรือ อาจไม่ได้คืนเลยก็ได้

2. คล้ายทุน: ไม่กำหนดอายุไถ่ถอน เหมือนหุ้นกู้ทั่วไปที่ระบุเวลาไถ่ถอนชัดเจน โดยผู้ลงทุนจะไถ่ถอนได้ ต่อเมื่อบริษัทผู้ออกเลิกกิจการ หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดอายุเท่านั้น 
 
3. ไม่มีเงื่อนไขการผิดนัดไขว้: หากบริษัทผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้อื่น จะไม่ถือว่าบริษัทผู้ออกผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ 
 
4. ผู้ออกเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยได้ พร้อมกับสะสมดอกเบี้ยจ่ายไปชำระในวันใดก็ได้ ไม่จำกัดระยะเวลา และไม่จำกัดจำนวนครั้ง หรือยกเลิกจ่ายดอกเบี้ยได้ ผู้ถือหุ้นกู้จึงมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือได้รับดอกเบี้ยล่าช้า

5. ไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ (callable): มักเกิดในกรณีดอกเบี้ยตลาดลดลง ผู้ออกจะไถ่ถอนเพื่อลดต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยง ซึ่งถ้าผู้ออกใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดหรือเลื่อน / ยกเลิก การชำระดอกเบี้ย ตามข้อ 4 ผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้ลงทุนจะได้รับก็จะน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง 
 
 
"เมื่อดูลักษณะและความเสี่ยงของหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ จะเห็นว่ามีลักษณะที่ซับซ้อนและความเสี่ยงที่มากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้จึงเหมาะกับคนที่ 1. มีเงินเย็น ไม่มีภาระต้องใช้จ่าย โดยแบ่งบางส่วนมาลงทุน 2. มีความเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของหุ้นกู้ประเภทนี้ 3. ถือยาว ไว้เป็น มรดกลูกหลาน ได้ชื่อว่า “นิรันดร์” ให้ระลึกเลยว่า ต้องถือติดตัว ตลอดไป เพราะ ไม่มีกำหนดอายุ ไถ่ถอนก่อนกำหนดไม่ได้ และมีสภาพคล่องต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แม้จะมีตลาดรองรับ แต่อาจไม่มีผู้ลงทุนมาซื้อต่อ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการสภาพคล่องหรือขายระหว่างทาง" คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการกล่าว
 
เนื่องจากหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ไม่มีการกำหนดอายุไถ่ถอน ก่อนตัดสินใจลงทุนจึงต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทผู้ออก ซึ่ง “อันดับความน่าเชื่อถือ” หรือ “rating” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประกอบการพิจารณา โดยอันดับเรตติ้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 

1. Investment Grade ได้แก่ เรตติ้งตั้งแต่ AAA จนถึง BBB- หมายถึง ระดับที่สามารถลงทุนได้ เป็นหุ้นกู้ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง และผลตอบแทนไม่สูงมาก

2. Non-Investment Grade ได้แก่ เรตติ้งตั้งแต่ BB+ ลงมา จนถึง D หมายถึง กลุ่มต่ำกว่าระดับน่าลงทุน เป็นหุ้นกู้คุณภาพปานกลางถึงต่ำ จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่า

การประเมินอันดับเรตติ้งของหุ้นกู้ทั่วไปจะประเมินเฉพาะผู้ออกเท่านั้น แต่หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์จะประเมินเรตติ้ง ของตัวหุ้นกู้ด้วย ซึ่งอันดับเรตติ้งของหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ มักจะต่ำกว่ากว่าอันดับผู้ออก 1-2 ระดับ เพราะมีลักษณะพิเศษ ที่ทำให้ผู้ถือหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์มีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป

อย่างไรก็ดี อันดับเรตติ้งที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน ดังนั้น ผู้ลงทุนควรเลือกลงทุนให้ตรงกับความเสี่ยงที่ตนรับได้ 

หนึ่งตัวช่วยในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ หรืออันดับของหุ้นกู้และผู้ออกหุ้นกู้ ได้แก่ Application: SEC Bond Check ของ ก.ล.ต. และ MeBond ของ Thai BMA และ เว็บไซต์ CRA 

ดังนั้น ผู้ลงทุนพึงระลึกเสมอว่า การลงทุนใด ๆ เมื่อผลตอบแทนสูง ก็ย่อมมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงด้วย สิ่งสำคัญในการลงทุนคือ เข้าใจสิ่งที่ลงทุนและเลือกลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่เรารับได้ โดยศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน  จากการอ่านหนังสือชี้ชวนหรือถามผู้แนะนำการลงทุน ไม่ดูเพียงผลตอบแทนแต่ควรดูลักษณะและความเสี่ยงของสิ่งที่ลงทุนทุกครั้ง